การเกิดน้ำพุร้อนและน้ำพุร้อนในเทศ

น้ำพุร้อนเกิดจากอะไร สาเหตุการเกิดน้ำพุร้อนแต่ละชนิดมีกระบวนการ

น้ำพุร้อนเกิดจากอะไร สาเหตุการเกิดน้ำพุร้อนแต่ละชนิดมีกระบวนการอย่างไรบ้าง
น้ำพุร้อน หมายถึง น้ำที่พ่นออกมาจากผิวดินขึ้นสู่อากาศ ด้วยความดันจากความร้อนใต้พิภพ ซึ่งน้ำพุร้อนนี้มีหลายขนาดและหลายประเภทแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศหรือปัจจัยการเกิดของน้ำพุร้อนนั้นๆ เช่นปริมาณแร่ธาตุที่ละลายผสมอยู่ในน้ำ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งน้ำพุร้อนออกเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย และวิธีการเกิดได้ดังต่อไปนี้
1. น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่และกำลังแรงมาก อาจะพ่นน้ำได้สูงขึ้นไปในอากาศได้ถึง 60 เมตรเลยก็ได้ เกิดจากการสะสมความร้อนจากน้ำในโพรงดินใต้พื้นพิภพ และไม่สามารถระบายออกมาได้ เมื่อความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ ก็จะสะสมกักเก็บจนมีแรงดันมหาศาลที่สามารถพ่นน้ำให้สูงขึ้นไปได้ในอากาศ และเมื่อความร้อนคลายออกไปจนหมดแล้ว จะเข้าสู่การเก็บสะสมความร้อนใหม่อีกครั้ง
2. น้ำพุร้อน ( Hot Spring ) เกิดจากน้ำที่ไหลออกมาจากทางน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าร่างกายมนุษย์ โดยมากน้ำที่ไหลออกมาจะเป็นลักษณะของการปลดปล่อยพลังงาน และเมื่อน้ำที่ไหลออกมานั้นคลายความร้อนหรือพลังงานลงก็จะไหลกลับคืนสู่แหล่งอีกครั้ง ซึ่งบ่อน้ำพุประเภทนี้มักจะมีแร่ธาตุต่างๆ เจือปนอยู่ด้วยทำให้มักมีสีหรือกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป น้ำพุร้อนประเภทนี้พบได้มากใน ไทย ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ เป็นต้น
3. บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) มีลักษณะที่เป็นปล่องหรือหลุม ซึ่งมักจะมีไอน้ำระเหยเป็นไออยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะในบริเวณนั้นมีน้ำน้อย แต่มีอุณหภูมิใต้พื้นดินที่มีความร้อนสูง ทำให้น้ำที่อยู่บริเวณนั้นระเหยกลายเป็นไออยู่ตลอดเวลา น้ำพุร้อนประเภทบ่อเดือดนี้พบได้มากในประเทศที่มีภูเขาไฟ
4. บ่อโคลนเดือด หรือบ่อพุเดือด(Mud pot) มีลักษณะเป็นบ่อที่มีน้ำผสมกับดินจนกลายเป็นดินเหลว ประกอบกับเมื่อมีความร้อนใต้ชั้นดินด้านล่างที่สูงจัด จนดันไอน้ำที่มีพลังงานความร้อนจัดขึ้นมาทะลุชั้นผิวที่เป็นโคลน ทำให้ดูเหมือนเป็นการระเบิดย่อยๆ บ่อชนิดนี้มักมีกำมะถันเจือปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมักจะได้กลิ่นของกำมะถันกระจายอยู่ทั่วบริเวณ พบบ่อประเภทนี้ได้บ่อยมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ
น้ำพุร้อนในแต่ละที่นั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไปนะครับ ตั้งแต่แค่อุ่นๆ จนไปถึงร้อนจัดจนสามารถต้มไข่สุกได้ในไม่กี่นาที สำหรับประเทศไทยเรานั้นสถานที่ท่องเที่ยวในเรื่องของน้ำพุร้อนจะอยู่ที่บริเวณภาคเหนือของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพุร้อนหินดาด กาญจนบุรี น้ำพุร้อนสันกำแพง โป่งเดือดป่าแป๋ เชียงใหม่ และที่อื่นๆ อีกมากมาย

การเกิดน้ำพุร้อนในประเทศไทย

           น้ำร้อนที่พบในแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพแต่ละ แหล่ง มักมีกำเนิดมาจากน้ำเย็นบนผิวดินหรือน้ำฝน (Meteoric Water) ที่ไหลซึมผ่านช่องว่าง หรือ รอยแตกของหินลึกลงไปใต้ดิน ได้รับความร้อนจากหินร้อน ทำให้มีอุณหภูมิและความดันสูง ไหลกลับสู่เบื้องบน และสะสมตัวในแหล่งกักเก็บ นอกจากนั้น อาจจะมาจากไอน้ำของหินหนืดที่เย็นตัว (Magmatic Water) และน้ำที่กักเก็บในช่องว่างระหว่างเม็ดแร่ประกอบหิน (Connate Water) หรือน้ำที่ได้จากการตกผลึกของหินบางชนิด

          แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพทางภาคเหนือของประเทศไทย มีต้นกำเนิดของน้ำร้อนแบบเดียวกับที่อื่นๆ ในโลก คือ มีต้นกำเนิดจากน้ำเย็นบนผิวดิน จากการศึกษาของ Giggenbach (ปี ค.ศ.1977) ได้ศึกษาวิจัยไอโซโทปของธาตุดิวทีเรียม (D) และธาตุออกซิเจน-18 (18O) ของตัวอย่างน้ำร้อนและน้ำเย็น โดยเฉพาะแหล่ง น้ำพุร้อนป่าแป๋ และแหล่งน้ำพุร้อนฝาง พบว่า ส่วนประกอบของธาตุดิวทีเรียม และธาตุออกซิเจน-18 ของน้ำร้อนและน้ำเย็นมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
          ลักษณะธรณีวิทยา ที่มีความสำคัญต่อระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย คือ รอยเลื่อน (Fault) และรอยแยก (Joints) ส่วนโครงสร้างทางธรณีวิทยาอื่นๆ เช่น ระนาบของชั้นหิน (Bedding) รอยคดโค้ง (Folding) ริ้วขนาน (Foliation) ต่างก็มีความสัมพันธ์กับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพทางภาคเหนือเช่นกัน แต่ก็มีบทบาทน้อยกว่า เนื่องจากโครงสร้างทางธรณีวิทยาประเภทแรก มีช่องว่างที่ให้น้ำร้อนไหลซึมขึ้นมาสู้ผิวดินได้มากกว่า ดังจะเห็นได้จากแหล่งน้ำพุร้อนแทบทุกแห่งที่ปรากฏอยู่ มักจะมีความสัมพันธ์ หรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของรอยเลื่อน (Fault Controlled) ทั้งที่เป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active Fault) และรอยเลื่อนที่เชื่อว่ายังมีพลังคือ รอยเลื่อนแม่ทา ซึ่งมีลักษณะแบบครึ่งวงกลม (Semi-Circular Structure) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ และแหล่งน้ำพุร้อนหลายแหล่งก็มักจะปรากฏอยู่ในบริเวณรอยเลื่อนนี้ เช่น แหล่งน้ำพุร้อนโป่งฮ่อม อำเภอสันกำแพง แหล่งน้ำพุร้อนโป่งกุ่ม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และแหล่งน้ำพุร้อนในบริเวณอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

น้ำพุร้อนอุมลองหลวง อำเภอแม่สะเรียง
          ส่วนรอยเลื่อนแม่สะเรียง - แม่ฮ่องสอน เป็นรอยเลื่อนธรรมดา (Normal Fault) วางตัวอยู่ในแนวเหนือ – ใต้ มีความยาวมากกว่า 100 กิโลเมตร และก็พบน้ำพุร้อน ที่เกิดอยู่ในแนวรอยเลื่อนนี้คือ แหล่งน้ำพุร้อนอุมลองหลวง อำเภอแม่สะเรียง เป็นต้น

          ส่วนรอยเลื่อนในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นรอยเลื่อนสัมผัสระหว่างหินภูเขาไฟยุค Permo-Triassic กับหินตะกอนที่เกินในทะเล (Marine) ยุค Triassic สามารถพบแหล่งน้ำพุร้อนที่เกิดตามรอยเลื่อนนี้คือ แหล่งน้ำพุร้อนบ้านแม่จอกและแหล่งน้ำพุร้อนบ้านปันเจน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

          น้ำพุร้อนจึงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่น้ำร้อนไหลขึ้นมาจากใต้ดิน ปัจจุบันในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อน 112 แหล่ง กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยมีอุณหภูมิน้ำร้อนที่ผิวดินอยู่ในช่วง 40 – 100 องศาเซลเซียส โดยน้ำพุร้อนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้ เช่น นำมาผลิตกระแสไฟฟ้า นำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมและการเกษตรกรรม ในปัจจุบันยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแหล่งหนึ่งอีกด้วย

การเกิดน้ำพุร้อน

cropped-sankampaeng-hotspring5.jpg

 น้ำพุร้อน หมายถึง น้ำที่พ่นออกมาจากผิวดินขึ้นสู่อากาศ ด้วยความดันจากความร้อนใต้พิภพ ซึ่งน้ำพุร้อนนี้มีหลายขนาดและหลายประเภทแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศหรือปัจจัยการเกิดของน้ำพุร้อนนั้นๆ เช่นปริมาณแร่ธาตุที่ละลายผสมอยู่ในน้ำ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแบ่งน้ำพุร้อนออกเป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อย และวิธีการเกิดได้ดังต่อไปนี้

1. น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่และกำลังแรงมาก อาจะพ่นน้ำได้สูงขึ้นไปในอากาศได้ถึง 60 เมตรเลยก็ได้ เกิดจากการสะสมความร้อนจากน้ำในโพรงดินใต้พื้นพิภพ และไม่สามารถระบายออกมาได้ เมื่อความร้อนไม่สามารถระบายออกมาได้ ก็จะสะสมกักเก็บจนมีแรงดันมหาศาลที่สามารถพ่นน้ำให้สูงขึ้นไปได้ในอากาศ และเมื่อความร้อนคลายออกไปจนหมดแล้ว จะเข้าสู่การเก็บสะสมความร้อนใหม่อีกครั้ง
2. น้ำพุร้อน ( Hot Spring ) เกิดจากน้ำที่ไหลออกมาจากทางน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งมีอุณหภูมิที่สูงกว่าร่างกายมนุษย์ โดยมากน้ำที่ไหลออกมาจะเป็นลักษณะของการปลดปล่อยพลังงาน และเมื่อน้ำที่ไหลออกมานั้นคลายความร้อนหรือพลังงานลงก็จะไหลกลับคืนสู่แหล่งอีกครั้ง ซึ่งบ่อน้ำพุประเภทนี้มักจะมีแร่ธาตุต่างๆ เจือปนอยู่ด้วยทำให้มักมีสีหรือกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป น้ำพุร้อนประเภทนี้พบได้มากใน ไทย ไอซ์แลนด์ นิวซีแลนด์ เป็นต้น
3. บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) มีลักษณะที่เป็นปล่องหรือหลุม ซึ่งมักจะมีไอน้ำระเหยเป็นไออยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะในบริเวณนั้นมีน้ำน้อย แต่มีอุณหภูมิใต้พื้นดินที่มีความร้อนสูง ทำให้น้ำที่อยู่บริเวณนั้นระเหยกลายเป็นไออยู่ตลอดเวลา น้ำพุร้อนประเภทบ่อเดือดนี้พบได้มากในประเทศที่มีภูเขาไฟ
4. บ่อโคลนเดือด หรือบ่อพุเดือด(Mud pot) มีลักษณะเป็นบ่อที่มีน้ำผสมกับดินจนกลายเป็นดินเหลว ประกอบกับเมื่อมีความร้อนใต้ชั้นดินด้านล่างที่สูงจัด จนดันไอน้ำที่มีพลังงานความร้อนจัดขึ้นมาทะลุชั้นผิวที่เป็นโคลน ทำให้ดูเหมือนเป็นการระเบิดย่อยๆ บ่อชนิดนี้มักมีกำมะถันเจือปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมักจะได้กลิ่นของกำมะถันกระจายอยู่ทั่วบริเวณ พบบ่อประเภทนี้ได้บ่อยมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ
น้ำพุร้อนในแต่ละที่นั้นมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไปนะครับ ตั้งแต่แค่อุ่นๆ จนไปถึงร้อนจัดจนสามารถต้มไข่สุกได้ในไม่กี่นาที สำหรับประเทศไทยเรานั้นสถานที่ท่องเที่ยวในเรื่องของน้ำพุร้อนจะอยู่ที่บริเวณภาคเหนือของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพุร้อนหินดาด กาญจนบุรี น้ำพุร้อนสันกำแพง โป่งเดือดป่าแป๋ เชียงใหม่ และที่อื่นๆ อีกมากมาย

X7390686-1


น้ำพุร้อนและพลังงานความร้อนใต้พิภพ
น้ำพุร้อนเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ให้ทราบว่าใต้เปลือกโลกลงไปมีพลังงานความร้อนกักเก็บสะสมตัวจำนวนมากมากกว่าปกติความร้อนดังกล่าวมาจากหินอัคนีที่ยังคงความร้อนอยู่หนุนแทรกขึ้นมาในระดับความลึกมากนัก เมื่อฝนซึมผ่านชั้นดินและหินลงไป ความร้อนที่กักเก็บอยู่จะทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจนกลายเป็นน้ำร้อนหรือไอน้ำ โดยคุณสมบัติทางเคมี และกายภาพเปลี่ยนไป น้ำร้อนและไอน้ำดังกล่าว จะไหลหมุนเวียนแทรกขึ้นมาทางรอยแตกเลื่อนขึ้นสู่ผิวดินและปรากฏให้เป็นในลักษณะของน้ำพุร้อน และไปน้ำร้อนพลังงานความร้อน ที่กักเก็บสะสมใต้เปลือกโลก ดังข้างต้นที่รียกว่า “พลังงานความร้อนใต้พิภพ”  แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ นับเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานธรรมชาติที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง การพัฒนาความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ประโยชน์ กระทำโดยการขุดเจาะหลุมไปยังแหล่งกับเก็บความร้อน ซึ่งความร้อนและไอน้ำไหลเวียนอยู่น้ำร้อนและไอน้ำร้อนมาผ่านกระบวนการเพื่อใช้ประโยชน์เพื่อการต่างๆ เช่นการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและอื่นๆ ลักษณะของการใช้ประโยชน์ จากพลังงานความร้อนใต้พิภพจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของแหล่งกับเก็บความร้อนเป็นสำคัญ



      1.1 น้ำพุร้อนไกเซอร์ (Geyser) เป็นน้ำพุร้อนที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังแรงมาก มีน้ำและไอน้ำที่ร้อนจัดพุ่งขึ้นมาได้สูงและมีแรงพุ่งออกมาเป็นระยะๆ ค่อนข้างสม่ำเสมอ บางแห่งน้ำอาจพุ่งสูงได้ถึง 60 เมตร ระยะเวลาการพุ่งน้ำออกมาจะเท่าๆ กัน เช่น 5 นาที 7 นาที ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการที่ใต้ผิวโลก มีโพรงกักเก็บน้ำติดต่อกัน เมื่อน้ำได้รับความร้อนในระดับลึกๆ ถูกสกัดกั้นไม่ให้ถ่ายเทได้โดยง่ายเพราะรูที่ทำให้น้ำไหลออกมามีขนาดเล็ก และมีน้ำซึ่งเย็นกว่าขังอยู่ในแอ่งที่อยู่ด้านบน น้ำที่อยู่ในระดับลึกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเมื่อสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นไอน้ำดันน้ำที่ขังอยู่ในรูไหลพุ่งขึ้นมา เมื่อไอน้ำได้ถ่ายเทพลังงานความร้อนจนหมดแรงดัน น้ำก็จะหยุดพุ่งจนสะสมความร้อนได้อีกก็จะพุ่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง น้ำพุร้อนไกเซอร์ที่มีชื่อเสียง เช่น น้ำพุร้อนโอลด์ เฟธฟูล (Old Faithful) ที่อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellow Stone National Park) ประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำพุร้อนกีย์เซอร์ (Geysir) ประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ไกเซอร์ (Geyser) และน้ำพุร้อนอีกหลายแห่งในประเทศนิวซีแลนด์

      1.2 น้ำพุร้อน (Hot Spring) หรือบ่อน้ำร้อน (Hot Pool) คือ แหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าร่างกายมนุษย์ไหลขึ้นมาจากใต้ดิน น้ำที่ขึ้นมามีตั้งแต่อุ่นๆ จนถึงเดือดพล่าน เนื่องจากทางเดินน้ำใต้ดินใหญ่ทำให้น้ำสามารถไหลเวียนอย่างรวดเร็วได้ น้ำร้อนที่ไหลขึ้นมาจะไหลออกไปจากแหล่งหรือกลายเป็นไอ เพื่อปล่อยพลังงานความร้อน เมื่อน้ำร้อนนั้นเย็นลงจะไหลกลับสู่ระบบน้ำใต้ดิน น้ำร้อนแต่ละแห่งจะมีแร่ธาตุรวมทั้งก๊าซละลายอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ทำให้มีสีและกลิ่นแตกต่างกัน และมีปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจากแต่ละบ่อแตกต่างกัน เช่น บ่อน้ำพุร้อนที่ทะเลสาบโบโกเรีย น้ำพุร้อนนับร้อยแห่งที่ประเทศ ไอซ์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และน้ำพุร้อนในประเทศไทย เป็นต้น ถ้ามีเพียงน้ำร้อนไหลซึมขึ้นมาบนผิวดินจะเรียกว่าน้ำซึม (Seepage)

      1.3 บ่อไอเดือดหรือพุก๊าซ (Fumarole) คือ หลุมหรือปล่องที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมา จะไม่มีน้ำเหมือน น้ำพุร้อน สาเหตุอาจเกิดจากบริเวณนั้นมีน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อได้รับความร้อนจึงกลายเป็นไอออกมา หรืออาจเกิดจากการที่ชั้นใต้ดินมีความร้อนสูงมากจนน้ำกลายเป็นไอจนหมด บ่อไอเดือดพบมากในประเทศที่มีภูเขาไฟ แต่ก็สามารถพบได้ในพื้นที่ที่ไม่มีภูเขาไฟได้เช่นกัน

      1.4 บ่อโคลนเดือดหรือพุโคลน (Mud Pot) คือ โคลน (แอ่งตะกอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ) ซึ่งมีไอน้ำร้อนจัดอยู่เบื้องล่าง เมื่อไอน้ำนั้นเคลื่อนที่จะทำให้โคลนที่อยู่ด้านบนพุ่งกระจายขึ้นมาคล้ายการระเบิดย่อยๆ ในบริเวณภูเขาไฟ ปกติบ่อโคลนเดือดมักมีกำมะถันอยู่มากและมีหลาย
2. แบ่งตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ ในต่างประเทศสามารถแบ่งน้ำพุร้อนตามปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำได้หลายสิบประเภท แต่ในประเทศไทย พบน้ำพุร้อนที่แบ่งตามส่วนประกอบเคมี เพียง 4 ประเภท (วรรณภา จ่าราช, 2546) ดังนี้

      2.1 น้ำพุร้อนทั่วไป (Simple Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน เกลือและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร เป็นน้ำพุร้อนส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย

      2.2 น้ำพุร้อนคาร์บอเนต (Carbonate Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำหรือเป็น น้ำพุเย็น ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและแร่ธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 1 กรัม/ลิตร ลักษณะคล้ายน้ำพุร้อนทั่วไป แต่มีปริมาณคาร์บอเนตสูงกว่า

      2.3 น้ำพุร้อนเกลือหรือน้ำพุร้อนน้ำเค็ม (Salt Springs) เป็นน้ำพุร้อนที่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่าน้ำพุร้อนทั่วไป มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่า 1 กรัม/ลิตร กรณีที่น้ำประกอบด้วยเกลือระหว่าง 1-5 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลืออ่อน (Weak Saline) ประกอบด้วยเกลือระหว่าง 5-10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือ และประกอบด้วยเกลือมากกว่า 10 กรัม/ลิตร เรียกว่าน้ำพุเกลือเข้มข้น (Strong Saline) มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาความร้อนได้ดี

      2.4 น้ำพุร้อนแอลคาไล (Alkaline Springs) เป็นการแบ่งประเภทน้ำพุร้อน โดยใช้ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำพุร้อนเป็นหลัก น้ำพุร้อนที่มีค่า pH 7.5-8.5 เรียกว่า Weak Alkaline Springs และน้ำพุร้อนที่มีค่า pH สูงกว่า 8.5 เรียกว่า Alkaline Springs



ปรากฏการณ์ธรรมชาติจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ

รูปแบบหรือลักษณะของปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่สามารถพบเห็นได้บนพื้นโลกทั่วไปมีหลายรูปแบบเช่น

บ่อน้ำร้อน 
บ่อน้ำร้อน (hot spring) คือ แหล่งน้ำร้อนที่แทรกตัวขึ้นมาจากใต้ผิวโลก น้ำที่ขึ้นมาจะมีตั้งแต่ระดับอุ่นๆจนถึงเดือด ดังแสดงในภาพที่ 8.3 ซึ่งแล้วแต่แหล่งที่เกิดและอาจมีแร่ธาตุรวมทั้งก๊าซละลายผสมอยู่ทำให้มีรสชาดและกลิ่นต่างๆกัน ปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจากแต่ละแหล่งก็จะแตกต่างกัน


ภาพ แสดงลักษณะของบ่อน้ำร้อน
ที่มา (Nature Pictures. 1996. On-line)

น้ำพุร้อน 
น้ำพุร้อน (geyser) คือ ลำน้ำร้อนและไอน้ำร้อนที่ผสมผสานกันอยู่ มีความร้อนและแรงดันสูงทำให้สามารถพุ่งทะลุขึ้นสู่ผิวโลกได้ ลักษณะของน้ำพุร้อนจะมีการพุ่งเป็นช่วงๆ ในบางแหล่งบางครั้งอาจพุ่งได้สูงถึง 60 เมตร น้ำพุร้อนเกิดจากการที่แหล่งน้ำใต้ดินได้รับพลังงานความร้อนจากแหล่งความร้อนใต้พิภพที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน เมื่อน้ำได้รับความร้อนจะทำให้มีแรงดันสูงและเคลื่อนตัวสู่ด้านบนกลายเป็นน้ำพุร้อน และน้ำใต้ดินในบริเวณใกล้เคียงกันจะค่อยๆไหลเข้ามาแทนที่และรับพลังงานความร้อนแล้วพุ่งขึ้นวนเวียนอยู่ในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ดังแสดงในภาพที่ 8.4 น้ำพุร้อนแบบนี้ที่มีขนาดใหญ่พบได้ในหลายแห่งทั่วโลก เช่น ในสหรัฐอเมริกาแหล่งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ที่อุทยานเยลโลว์สโตน (Yellow Stone) และในประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น


ส่วนในประเทศไทยมีแหล่งน้ำพุร้อนอยู่หลายแห่งแต่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เช่น น้ำพุร้อนที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และน้ำพุร้อนที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย น้ำพุร้อนเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของหินหนืด หรือความร้อนจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง น้ำจากน้ำพุร้อนจะมีส่วนประกอบของแร่ธาตุและสารละลายเจือปนอยู่ แต่ถือว่ามีอยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม โดยอุณหภูมิของน้ำร้อนในแหล่งกักเก็บอยู่ระหว่าง 100-220 องศาเซลเซียส


ความคิดเห็น

  1. แนะนำบ่อน้ำพุร้อน แช่ออนเซ็นในไทยไม่ต้องไปไกลถึงต่างประเทศ
    บ่อน้ำพุร้อนปลายพู่

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น